"สวัสดีคะมาพบกันอีกเช่นเคยนะคะวันนี้
เพื่อนๆหลายคนอาจจะสงสัยว่า เจออีกแล้ววันนี้จะมีอะไรมาให้ชมอีกนา แต่ขอบอกเพื่อนๆไว้เลยว่าสิ่งที่เราจะนำมาให้เพื่อนๆชมมีแต่สาระความรู้ทั้งนั้นเลยไม่ว่าจะเป็นบทความก่อนหน้านี้บทความนี้หรือบทความต่อๆไปก็จะมีแต่สาระทั้งนั้น
อาจจะมีนอกสาระบ้างก็แค่นิดหน่อยนะคะ พูดไปเยอะก็ยิ่งออกนอกเรื่องเฮ้ยย
งั้นเพื่อเป็นการไม่เสียเวลาเรามาเข้าเรื่องของวันนี้กันเลยคะ
วันนี้เราจะมาอธิบายหรือบอกกระบวนการเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งที่เป็นภาษาอังกฤษว่า
การ Booting
up ต่อไปจะขอเรียกว่าการ Booting up แล้วกันนะคะจะได้ไม่สับสนเดี๋ยวก็พูดอีกอย่างสลับกันไปสลับกันมามันจะงง
555(ขอหัวเราะแป๊ป) ต่อคะต่ออย่านอกเรื่องสิเฮ้ยมาเริมกันเลยดีกว่าคะ"
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ( Booting Up ) ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นจะต้องนำเอาระบบปฏิบัติการเข้าไปเก็บไว้ยังหน่วยความจำของเครื่องเสียก่อน
กระบวนการนี้เรียกว่า การบู๊ตเครื่อง ( boot ) นั่นเอง ซึ่งจะเริ่มทำงานทันทีตั้งแต่เปิดสวิทซ์เครื่อง
มีขั้นตอนที่พอสรุปได้ดังนี้ คือ
ขั้นตอนแบบสรุปพอสังเขป
"ต่อไปเราจะมาอธิบายขั้นตอนต่างๆกัน"
1. เมื่อเพาเวอร์ซัพพลายส่งสัญญาณไปให้ซีพียูเริ่มทำงาน ในคอมพิวเตอร์จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า เพาเวอร์ซัพพลาย
( power supply ) ทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
โดยจะเริ่มต้นทำงานทันทีเมื่อเรากดปุ่มเปิด ( Power ON ) และเมื่อเริ่มทำงานก็จะมีสัญญาณส่งไปบอกซีพียูด้วย
(เรียกว่าสัญญาณ Power Good )
2. ซีพียูจะสั่งให้ไบออสทำงาน ทันทีที่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายมายังคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบต่างๆได้รับพลังงานเพียงพอและแหล่งจ่ายไฟไม่มีข้อผิดพลาดก็จะส่งสัญญาณไปยังเมนบอร์ดและหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ขณะเดียวกัน หน่วยประมวลผลจะทำการล้างข้อมูลที่หลงดหลือในรีจิสเตอร์หน่วยความจำและมีผลทำให้โปรแกรมเคาน์เตอร์ในซีพียูมีค่าเท่ากับ F000 และเป็นการบอกให้ หน่วยประมวลกลางหรือซีพียูเริ่มเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในไบออสเพื่อทำงานตามชุดคำสั่งที่เก็บไว้โดยทันที
3. เริ่มทำงานตามกระบวนการที่เรียกว่า POST
เพื่อเช็คอุปกรณ์ต่าง ๆ กระบวนการ POST (power on self test) เป็นโปรแกรมส่วนหนึ่งในไบออสซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง
ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด , RAM , ซีพียู
รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่น คีย์บอร์ดหรือเมาส์
ซึ่งเราสามารถสังเกตผลการตรวจสอบนี้ได้ทั้งจากข้อความที่ปรากฏบนจอภาพในระหว่างบู๊ต
และจากเสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ส่งออกมา (ซึ่งเป็นประโยชน์ในการที่แสดงผลทางจอภาพไม่ขึ้น)
โดยปกติถ้าการตรวจสอบเรียบร้อยและไม่มีปัญหาใด ๆ ก็จะส่งสัญญาณปี๊บสั้น ๆ 1
ครั้ง
แต่หากมีอาการผิดปกติจะส่งสัญญาณที่มีรหัสเสียงสั้นและยาวต่างกันแล้วแต่ข้อผิดพลาด
(error ) ที่พบ เช่น
ถ้าเป็นข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการ์ดแสดงผลจะส่งสัญญาณเป็นเสียงยาว 1 ครั้ง สั้น 3 ครั้ง
ทั้งนี้ไบออสแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็จะมีรหัสสัญญาณที่แตกต่างกัน
4. ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST
จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่อยู่ในซีมอส ข้อมูลของอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ติดตั้งแล้วในเครื่องหรือค่า configuration
จะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำที่เรียกว่า ซีมอส (CMOS –
complementary metal oxide semiconductor ) ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยในการหล่อเลี้ยง
โดยใช้แบตเตอรี่ตัวเล็ก ๆ บนเมนบอร์ด เพื่อให้เครื่องสามารถจำค่าต่าง ๆ ไว้ได้
ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST นี้
จะถูกนำมาตรวจสอบกับข้อมูลซีมอส ถ้าถูกต้องตรงกันก็ทำงานต่อได้
ไม่เช่นนั้นต้องแจ้งผู้ใช้ให้แก้ไขข้อมูลก่อน
5. ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบู๊ตจากฟล็อปปี้ดิสก์
ซีดีหรือฮาร์ดดิสก์ ขั้นถัดไปไบออสจะเข้าไปอ่านโปรแกรมสำหรับการบู๊ตระบบปฏิบัติการจากเซกเตอร์แรกของฮาร์ดดิสก์
ฟล็อปปี้ดิสก์ หรือซีดีรอม โดยที่ไบออสจะมีความสามารถในการติดต่อกับอุปกรณ์เหล่านั้นได้
6. โปรแกรมส่วนสำคัญจะถูกถ่ายค่าลงหน่วยความจำ RAM เมื่อไบออสรู้จักระบบไฟล์ของไดรว์ที่บู๊ตได้แล้วก็จะไปอ่านโปรแกรมส่วนสำคัญของระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าเคอร์เนล
( kernel ) เข้ามาเก็บในหน่วยความจำหลักหรือ RAM ของคอมพิวเตอร์เสียก่อน
7. ระบบปฏิบัติการในหน่วยความจำเข้าควบคุมเครื่องและแสดงผลลัพธ์ เคอร์เนลที่ถูกถ่ายโอนลงหน่วยความจำนั้นจะเข้าไปควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยรวมและโหลดค่า
configuration ต่าง ๆ
พร้อมทั้งแสดงผลออกมาที่เดสก์ท็อปของผู้ใช้เพื่อรอรับคำสั่งการทำงานต่อไป
ซึ่งปัจจุบันในระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ จะมีส่วนประสานงานกับผู้ใช้แบบกราฟิกหรือ GUI
เพื่อสนับสนุนให้การใช้งานกับคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นกว่าเดิมอีก
ประเภทของการบู๊ตเครื่อง ดังที่อธิบายแล้วว่าการบู๊ตเครื่อง
คือ ขั้นตอนที่คอมพิวเตอร์เริ่มทำการโหลดระบบปฏิบัติการเข้าไปไว้ในหน่วยความจำ RAM
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน คือ
- โคลด์บู๊ต ( Cold boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์
โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง ( Power On ) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที
ปุ่มเปิดเครื่องนี้จะอยู่บนตัวเคสของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิทช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
- วอร์มบู๊ต ( Warm boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง ( restart ) โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบู๊ตเครื่องกันใหม่
(*** ขั้นตอนการทำงานของของไบออสเพื่อตรวจสอบการบู๊ตว่าเป็นโคลด์บู๊ตหรื่อวอร์มบู๊ต โดยไบออสจะทำการดูที่ตำแหน่งที่อยู่ในหน่วยความจำ 0000:0472 ถ้าเห็นเป็น 1234h ไบออสจะรู้ว่าเป็นการรีบูตหรือการรีสตาร์ทเครื่องนั้นเองแต่ถ้าหน่สยความจำไม่เห็นเป็น 1234h แสดงว่าเป็นการโคลด์บู๊ตหรือเป็นการเปิดเครื่องครั้งแรกนั้นเอง*** )
"สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆที่ได้เข้ามาอ่านบทความอันมีสาระนี้
หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยนะคะ
หรือหากมีข้อติชมโปรดแสดงความคิดเห็นได้เลยคะ ขอบคุณคะที่เข้ามาอ่านบทความ"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น